ผู้สอบบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี
เนื่องด้วยมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 กำหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี โดยมาตรา 7(3) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการสอบบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตรวจสอบ
ที่มาของมาตรฐานการสอบบัญชี
เพื่อให้มาตรฐานการสอบบัญชีมีความเป็นสากล สภาวิชาชีพบัญชีจึงได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกของ International Federation of Accountants (IFAC) ซึ่งมีหน้าที่ในการออกมาตรฐานการสอบบัญชีระหว่างประเทศ (International Standards on Auditing [ISA]) และสภาวิชาชีพบัญชีได้นำมาตรฐานการสอบบัญชีระหว่างประเทศมาแปล ยกร่างเป็นฉบับภาษาไทย และประกาศใช้มาตรฐานการสอบบัญชีที่บังคับใช้ในประเทศไทย โดยวันที่ถือปฏิบัติของมาตรฐานการสอบบัญชีที่บังคับใช้ในประเทศไทยจะมีผลบังคับใช้ไม่เกิน 1 ปีนับจากวันที่ถือปฏิบัติของมาตรฐานการสอบบัญชีระหว่างประเทศ
มาตรฐานการสอบบัญชี ประกอบด้วย
“มาตรฐานการสอบบัญชี” หมายรวมถึง มาตรฐานการสอบบัญชี มาตรฐานงานสอบทาน มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น มาตรฐานงานบริการเกี่ยวเนื่อง แม่บทสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น และคำอธิบายวิธีปฏิบัติงานตรวจสอบ โดยมีโครงสร้างในภาพรวมตามแม่บทสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น ดังนี้
ในการนี้ IAASB ได้เผยแพร่ First time implementation guide เพื่อช่วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสอบบัญชี ผู้สอบบัญชี ผู้มีหน้าที่กำกับดูแลหรือผู้บริหาร เป็นต้น ในการทำความเข้าใจข้อกำหนดของมาตรฐานฉบับใหม่ๆ ที่ออกและเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา และเพื่อช่วยผู้สอบบัญชี สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการสอบบัญชีได้อย่างครบถ้วนถูกต้องในวันที่ถือปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดดังนี้
Quality Management Guide | ช่วงเวลาที่ IAASB เผยแพร่ | Link อ่าน guide ของ IAASB |
ISA 220 - First implementation guide | เดือนกุมภาพันธ์ 2022 | Link ISA 220 – First-time implementation guide |
ISA 315 - First implementation guide | เดือนกรกฎาคม 2022 | Link ISA 315 – First-time implementation guide |