ปรับปรุง 2559
(มีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560)
คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ได้จัดทำและปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทยให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นฉบับปรับปรุงตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่สิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (Bound Volume 2016 Consolidated without early application) โดยจะมีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 |
|
TAS หมายถึง มาตรฐานการบัญชี | TFRS หมายถึง มาตรฐานการรายงานทางการเงิน |
TSIC หมายถึง การตีความมาตรฐานการบัญชี | TFRIC หมายถึง การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน |
หมายเหตุ:
1) ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ผ่านการพิจารณาหลักการโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ท่านสามารถดาวน์โหลดเพื่อใช้ในการศึกษาและเตรียมความพร้อมในการถือปฏิบัติได้
2) ความหมายของ "ความคืบหน้า" ในตาราง โปรดดูในภาพ "ขั้นตอนการพิจารณาให้ความเห็นชอบในคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ และการประกาศในราชกิจจานุเบกษา"
มาตรฐานการบัญชีไทย
นอกจากนั้นคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีอยู่ระหว่างปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีของไทยเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศในปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560
ลำดับ | ชื่อย่อ | ชื่อมาตรฐาน | วันที่เผยแพร่ร่าง | ความคืบหน้า | วันที่ประกาศ ราชกิจจานุเบกษา |
หมายเหตุ |
1 | TAS 104 | เรื่อง การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา | 20 มิ.ย. 2559 | 6 | 28 พ.ย. 2559 | |
2 | TAS 105 | เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน | 20 มิ.ย. 2559 | 6 | 28 พ.ย. 2559 | |
3 | TAS 107 | เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน | 20 มิ.ย. 2559 | 6 | 28 พ.ย. 2559 |
สรุปการปรับปรุงมาตรฐานฯ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับปรับปรุง 2559 นี้ มีการปรับปรุงในสาระสำคัญจำนวน 15 ฉบับ และมีการจัดทำแนวปฏิบัติทางบัญชีจำนวน 1 ฉบับ ทั้งนี้ท่านสามารถศึกษาสรุปการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานเพิ่มเติม คลิก
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน | การปรับปรุง (Amendments) |
TAS 1 (ปรับปรุง 2559) | • การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน |
TAS 16 (ปรับปรุง 2559) | • การชี้แจงวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่สามารถยอมรับได้ • พืชเพื่อการให้ผลิตผล (Bearer plant) ให้ถือเป็นรายการ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ |
TAS 19 (ปรับปรุง 2559) | • การใช้อัตราคิดลด(Discount rate) สำหรับการประมาณผลประโยชน์หลังออกจากงาน |
TAS 27 (ปรับปรุง 2559) | • วิธีส่วนได้เสีย(Equity Method) บนงบการเงินเฉพาะกิจการ(Separate Financial Statements) |
TAS 28 (ปรับปรุง 2559) | • การขายสินทรัพย์หรือนำสินทรัพย์ไปให้แก่กันระหว่างนักลงทุน และบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า • กิจการที่ดำเนินธุรกิจด้านการลงทุน : การใช้ข้อยกเว้นงบการเงินรวม |
TAS 34 (ปรับปรุง 2559) | • การเปิดเผยข้อมูลอื่นๆ ในรายงานทางการเงินระหว่างกาล |
TAS 38 (ปรับปรุง 2559) | • การชี้แจงวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่สามารถยอมรับได้ |
TAS 41 (ปรับปรุง 2559) | • พืชเพื่อการให้ผลิตผล (Bearer plant) ให้ถือเป็นรายการ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ |
TFRS 5 (ปรับปรุง 2559) | • การเปลี่ยนแปลงในวิธีการของสินทรัพย์ที่จะจำหน่าย |
TFRS 10 (ปรับปรุง 2559) | • การขายสินทรัพย์หรือนำสินทรัพย์ไปให้กันระหว่างนักลงทุนและบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า • กิจการที่ดำเนินธุรกิจด้านการลงทุน : การใช้ข้อยกเว้นงบการเงินรวม |
TFRS 11 (ปรับปรุง 2559) | • การบัญชีสำหรับการเข้าซื้อกิจการของส่วนได้เสียในการดำเนินงานร่วมกัน |
TFRS 12 (ปรับปรุง 2559) | • กิจการที่ดำเนินธุรกิจด้านการลงทุน : การใช้ข้อยกเว้นงบการเงินรวม |
TAS 104 (ปรับปรุง 2559) | • ปรับปรุงคำนิยามของมูลค่ายุติธรรมให้สอดคล้องกับ TFRS 13 (ปรับปรุง 2559) |
TAS 105 (ปรับปรุง 2559) | • ปรับปรุงคำนิยามของมูลค่ายุติธรรมให้สอดคล้องกับ TFRS 13 (ปรับปรุง 2559) • ปรับปรุงการโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนจากเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือการร่วมค้าไปเป็นเงินลงทุนประเภทอื่น และจากเงินลงทุนประเภทอื่นไปเป็นเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือการร่วมค้า |
TAS 107 (ปรับปรุง 2559) | • ปรับปรุงคำนิยามของมูลค่ายุติธรรมให้สอดคล้องกับ TFRS 13 (ปรับปรุง 2559) • ปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่ายุติธรรมให้สอดคล้องกับ IFRS 7 |
แนวปฏิบัติทางการบัญชี สำหรับธุรกิจประกันภัยฯ |
• แนวปฏิบัตินี้กำหนดเกี่ยวกับ - ทางเลือกในการกำหนดให้สินทรัพย์ทางการเงินวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน - การวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรก - การวัดมูลค่าในภายหลัง - ผลกำไรและขาดทุน - การจัดประเภทรายการใหม่ - การเปิดเผยข้อมูลและการแสดงรายการ |
มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น เป็นการปรับปรุงถ้อยคำและการอ้างอิงมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น (ปรับปรุงการอ้างอิงปี พ.ศ.) ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาอย่างเป็นสาระสำคัญแต่อย่างใด
*โปรดดูขั้นตอนการจัดทำมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทยเพิ่มเติม Click
มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย (TFRS) มีเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ขององค์กรมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS ® Foundation) ซึ่งมีการสงวนลิขสิทธิ์ Thai Financial Reporting Standards (TFRS) contain copyright material of the IFRS® Foundation (Foundation) in respect of which all rights are reserved. |